พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น

Written by

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น (ฉบับที่ 760) พ.ศ. 2566 เป็นมาตรการทางภาษีที่สนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมมีความตื่นตัวในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน

(ฉบับที่ 760) พ.ศ. 2566

ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 – 31 ธันวาคม 2670

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น (ฉบับที่ 760) พ.ศ. 2566 เป็นมาตรการทางภาษีที่สนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมมีความตื่นตัวในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่ธุรกรรมการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต เป็นการส่งเสริมตลาดการ ซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกรวนที่สามารถช่วยให้การลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลงด้วยต้นทุนการลดที่ต่ำที่สุดและยังช่วยแก้ปัญหาผลกระทบภายนอกเชิงลบ (Negative Externality) โดยทำให้ผู้ที่ก่อมลพิษ หรือ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกลดลง หรือ การชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศของโลกได้มากยิ่งขึ้น โดยยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะที่ 2 แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคล สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการขายคาร์บอนเครดิตในประเทศตามโครงการ T-VER ที่ขึ้นทะเบียนกับ TGO อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวครอบคลุมการซื้อขายเฉพาะตลาดหลักเท่านั้น คือ ต้องเป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตโดยตรงกับผู้พัฒนาโครงการ T-VER หากเป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างบุคคลทั่วไป (กลุ่มซื้อมาขายไป) จะไม่สามารถของดเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้

ทั้งนี้ มาตรดังกล่าวเป็นการต่ออายุจากประกาศพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 694) พ.ศ. 2563 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563  ซึ่งมีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ TGO ภายในวันที่ 31 ธันวาคน พ.ศ. 2563 ซึ่งมีระยะเวลาของมาตรการเพียง 5 เดือน สามารถกระตุ้นให้มีจำนวนผู้สนใจดำเนินโครงการทั้งสิ้น 14 โครงการ มีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองแล้ว 126,583 tCO2eq และสามารถขายคาร์บอนเครดิตได้แล้ว 66 tCO2eq

การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่โครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรการดังกล่าว คุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับการสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษี จากสถิติการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 77 ต่อปี  คาดว่ามูลค่าการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกในระหว่างปี พ.ค. 2565-2570 จะอยู่ประมาณ 288.99 ล้านบาท โดยเมื่อพิจารณาถึงผลกระทบต่อรายได้ของภาครัฐ (ในระหว่างปี พ.ศ. 2565-2570) จากการสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 57.80 ล้านบาท  เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับทั้งที่สามารถประเมินมูลค่าทางการเงินและผลประโยชน์ร่วม (สิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ) การกระตุ้นเศรษฐกิจ การดึงดูดเงินลงทุนและเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ การสร้างงานสร้างรายได้ในกลุ่มอาชีพสีเขียว การสร้างรายได้ของภาครัฐจากการเก็บค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนและรับรองโครงการ และการสนับสนุนนโยบายหลักต่าง ๆ และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และ Net-Zero GHG Emission ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

Please follow and like us: