ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ภายใต้การดำเนินงานของประเทศไทย

Written by

ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market) คือ เป็นระบบตลาดที่ประเทศไทยใช้เป็นกลไกหลักของประเทศในการขับเคลื่อนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market) คือ เป็นระบบตลาดที่ประเทศไทยใช้เป็นกลไกหลักของประเทศในการขับเคลื่อนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ตามที่ตลาดคาร์บอนที่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ การจัดตั้งตลาดคาร์บอนเครดิตเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป เพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิต ในตลาดด้วยความสมัครใจโดยอาจจะมีการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองโดยสมัครใจ (Voluntary) แต่ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Non-legally binding target)

รูปที่ 1  ตลาดคาร์บอน และกลไกคาร์บอนเครดิต

การซื้อขายคาร์บอนเครดิต (TVERs) ภายในประเทศไทยสามารถซื้อขายได้ในระบบทวิภาค (Over-The-Counter: OTC) เพื่อเลือกซื้อจากโครงการที่มีผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit) ของการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การลดการใช้พลังงาน หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพใหม่ๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถดำเนินการเจรจาต่อรองราคากันได้โดยตรง หรือ สามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต “Thailand Carbon Credit Exchange Platform” ที่ เป็นวิธีการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบัน การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยมีการดำเนินการผ่านโครงการชดเชยคาร์บอน หรือ Thailand Carbon Offsetting Program (T-COP) ซึ่งพัฒนาโดย TGO โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ทำกิจกรรมชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างอุปสงค์คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศของกิจกรรมชดเชยคาร์บอนของบุคคล องค์กร สินค้าและบริการ การจัดงานอีเว้นท์ ให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ระบบตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ภายใต้การดำเนินงานของประเทศไทย

(ที่มา : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎคม 2566)

Please follow and like us: