สถานการณ์ป่าไม้ จังหวัดแพร่

Written by

ปัจจุบันจังหวัดแพร่มีเนื้อที่ป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งสิ้น 2,624,342 ไร่ และมีเนื้อที่ป่าเสื่อมโทรม
ถึง 89,100 ไร่ (กรมป่าไม้, 2566) จากการสำรวจ พบว่า พื้นที่ป่าสงวนส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณที่มีความเสื่อมโทรม

จากการดำเนินโครงการ “SENA Reforestation” ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ร่วมกับ บริษัท เสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด

ปัจจุบันจังหวัดแพร่มีเนื้อที่ป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งสิ้น 2,624,342 ไร่ และมีเนื้อที่ป่าเสื่อมโทรม
ถึง 89,100 ไร่ (กรมป่าไม้, 2566) จากการสำรวจ พบว่า พื้นที่ป่าสงวนส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณที่มีความเสื่อมโทรม มีต้นไม้และวัชพืชขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น จากการประเมินเบื้องต้น พบว่า มีไม้ยืนต้นขึ้นอยู่ในพื้นที่ประมาณร้อยละ 30 ส่วนใหญ่เป็นไผ่ซางและไผ่ไร่ และมีวัชพืชขึ้นอยู่หนาแน่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีความลาดชันสูงต่ำแตกต่างกันอย่างมาก ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากและเป็นหุบเหว ซึ่งเสี่ยงต่อดินสไลด์ ลักษณะดินเนื่องจากเป็นพื้นที่บนภูเขาจึงมีโขดหินอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ดี ต้นไม้ที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ สัก แดง ประดู่ มะค่า ชิงชัน เป็นต้น สภาพภูมิสังคมส่วนใหญ่ชุมชนมีพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมติดกับชายขอบพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งอดีตป่าบางส่วนถูกบุกรุกทำไร่เลื่อนลอย เช่น ไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง และเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านถูกกันออกจากเขตพื้นที่ป่าสงวนแล้วทั้งหมด และหากผู้ใดผ่าผืนจะถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ทำให้สภาพพื้นที่ป่าในปัจจุบันมีไม้ยืนต้นน้อยกว่าไผ่อยู่มาก เนื่องด้วยไผ่เจริญเติบโตได้เร็วและเบียดบังการเจริญเติบโตของลูกไม้ ถึงอย่างนั้น วิถีชีวิตชุมชนก็ยังคงต้องพึ่งพึงป่าธรรมชาติ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่ยังพบว่า ชุมชนยังมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าสงวนในการเก็บหาของป่า เช่น เห็ด ผัดหวาน ผักป่า ผลไม้ หรือแม้กระทั้งล่าสัตว์ ซึ่งหากชุมชนใช้ประโยชน์เพียงเพื่อหล่อเลี้ยงครอบครัวนั้นอนุโลมให้สามารถทำได้ ซึ่งกลุ่มบุคคลที่มีเจตนาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนใช้โอกาศนี้ในการลักลอบตัดไม้ยืนต้นและไม้ไผ่เพื่อส่งให้นายทุน รวมถึง ลักลอบจุดไฟเผาพื้นที่ป่า เพื่อเตรียมพื้นที่ล่าสัตว์และเก็บหาป่าเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (รังสรรค์, 2566)

ภาพที่ 1 กราฟแสดงเนื้อที่ป่าสงวนแห่งชาติ และร้อยละเนื้อที่ป่าสงวนต่อเนื้อที่ของจังหวัดแพร่

จากกราฟที่ 1 จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2557 พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดแพร่ค่อนข้างทรงตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าสงวนที่ชัดเจน และมีการติดตามสถานการณ์การบุกป่าอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การรับมือป้องกันการถูกบุกรุกซ้ำด้วยวิธีการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม อีกทั้ง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ถูกบุกรุกซ้ำ และจัดตั้งเครือข่ายป้องกันไฟป่าของแต่ละชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และ องค์ความรู้จากกรมป่าไม้และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ภาพที่ 2 กราฟแสดงเนื้อที่ป่าสงวนแห่งชาติประเทศ และเนื้อที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดแพร่

ความท้าทายขั้นต่อมา การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมนั้นจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึง งบประมาณที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีเนื้อที่ป่าเสื่อมโทรมถึง 89,100 ไร่ ดังนั้น การเปิดโอกาสให้บุคคล หรือเอกชนที่ประสงค์ปลูกป่า บำรุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิตจึงมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการฟื้นฟูป่าเป็นอย่างมาก รวมถึง กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ จากการปลูกต้นไม้ เตรียมพื้นที่ปลูกป่า การบำรุงดูแล รวมถึง การป้องกันไฟป่า ซึ่งปัจจุบัน มีเอกชนสนใจและเข้าร่วมโครงการในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้แล้วทั้งหมด 89,100 ไร่ ซึ่งถือว่า ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูก บำรุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าไม้ พ.ศ. 2564 มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดแพร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Please follow and like us: