โครงการ T-VER สาขาป่าไม้และพื้นที่สีเขียว

Written by

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือเรียกย่อว่า โครงการ T-VER เป็นกลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายใน

Standard T-VER (VS) Premium T-VER

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือเรียกย่อว่า โครงการ T-VER เป็นกลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้หรือคาร์บอนเครดิต “TVERs” (Thailand Verified Emission Reductions) ไปจำหน่ายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ T-VER นอกจากสนับสนุนการลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมในชุมชน โดยเฉพาะโครงการภาคป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งสร้างความชุ่มและต้นกำหนดแหล่งน้ำในธรรมชาติ รวมถึงเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกและรองรับมลพิษจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหาร การใช้พลังงาน และกิจกรรมในการดำเนินชีวิตอื่น ๆ 

โครงการ T-VER สาขาป่าไม้และพื้นที่สีเขียว อบก. ได้ปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันโครงการ T-VER มีทั้งหมด 2 มาตรฐาน ได้แก่ โครงการ T-VER (Standard T-VER) และ โครงการ T-VER มาตรฐานขั้นสูง (Premium T-VER) ซึ่ง Premium T-VER ถูกพัฒนาขึ้นจากการยกระดับ Standard T-VER ให้มีความเข้มข้นมากขึ้นและเหมาะสำหรับผู้พัฒนาโครงการที่ประสงค์นำคาร์บอนเครดิตเพื่อการซื้อ-ขายหรือชดเชยระหว่างประเทศ

(Standard T-VER (VS) Premium T-VER)

ลำดับรายละเอียดStandrad T-VERPremium T-VER
ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกT-VER MethodologyT-VER Premium Methodology
ระยะเริ่มดำเนินโครงการไม่กำหนดต้องขอขึ้นทะเบียนภายใน 5 ปี นับจากวันเริ่มดำเนินโครงการ
วัตถุประสงค์นำเครดิตไปใช้อย่างสมัครใจนำเครดิตไปใช้อย่างสมัครใจ หรือ ใช้กับวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศ (ต้องได้รับหนังสืออนุญาตการใช้คาร์บอนเครดิต)
การคิดค่าการปล่อย/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกกรณีฐาน (Baseline)การดำเนินงานตามปกติ (BAU)ต่ำกว่าการดำเนินงานตามปกติ (below BAU)
การพิสูจน์ส่วนเพิ่ม (Additionality)พิสูจน์เฉพาะโครงการขนาดใหญ่ (Payback period มากกว่า 3 ปี)ต้องพิสูจน์ทุกขนาดโครงการ
ต้องมีการพิสูจน์อย่างเข้มข้น (Regulatory surplus, Technology positive list, Common practice, Barrier and/or investment analysis)
ผู้ตรวจประเมินโครงการมาตรฐาน ISO14065 หรือ CDM
แจ้งความประสงค์ในการพัฒนาโครงการไม่กำหนดยื่นเอกสาร MoC ก่อนดำเนินโครงการ
จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย

ไม่กำหนด
จัดประชุมฯ และเผยแพร่รายละเอียดโครงการผ่านเว็บไซต์
รายงานการป้องกันผลกระทบเชิงลบ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนจัดทำรายงานประเมินผลประโยชน์ร่วม (Co-benefits)จัดทำรายงานการป้องกันผลกระทบเชิงลบ และส่งเสริมการพฒนา (SDGs) มากกว่า 2 ด้าน
รายงานการประเมิน Non-permanence risk และหักเครดิตสำรองไม่กำหนด
จัดทำรายงานการประเมิน (Non-permanence และหักเครดิตสำรอง (เฉพาะโครงการประเภทดูดซับ และการกักเก็บ)
อายุโครงการ10 ปี
สามารถต่ออายุได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
15 ปี
สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง
ไม่จำกัด
พื้นที่ดำเนินโครงการไม่น้อยกว่า 10 ไร่ไม่จำกัด
Please follow and like us: